วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ



แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่ากันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสำคัญและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ส่วนใหญ่เรามักจะมุ่งไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไป ทั่งๆที่มีผลการวิจัยชี้ชัดว่า ความรู้สึกต่อผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson and Johnson,1994: 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ คือ
......1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่างๆ
......2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น
......3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย จอห์นสัน และจอห์นสันชี้ให้เห็นว่าการจัดการศึกษาปัจจุบันมักส่งเสริมการเรียนรู้แบบแข่งขัน ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้เรียนเคยชินต่อการแข่งขันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์มากกว่าการร่วมมือกันแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม เขาแสดงความเห็นว่า เราควรให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้ง 3 ลักษณะ โดยรู้จักใช้ลักษณะการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์



สาขาที่เรียนคือ พลศึกษาและสุขศึกษา

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถนำไปใช้ในสาขาที่ข้าพเจ้าเรียนได้อย่างหลากหลายรูปแบบ จะยกตัวอย่างการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้เกี่ยวกับทางพลศึกษาและสุขศึกษา ดังต่อไปนี้
การสร้างทักษะเบื้องต้นการใช้ลูกบอลของตนเองและร่วมกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาด้านปฏิสัมพันธ์ของร่างกาย สติปัญญา และพัฒนาด้านสมองได้เป็นอย่างดี

วิธีฝึกปฏิบัติ

เริ่มจากการใช้ลูกบอลคนเดียว อาจเริ่มด้วยการจับบอล ถือบอล โยนบอล กลิ้งบอล หรือเลี้ยงบอล ฯลฯ เพื่อฝึกทักษะของตนเอง เมื่อฝึกทักษะนั้นๆได้แล้ว ค่อยๆนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเข้ามาใช้ร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะให้ดียิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด คือการให้แบ่งกลุ่มประมาณ 3-6 คน เพื่อให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดและวางแผนเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ อาจจะให้ฝึกปฏิบัติเป็นเกม คือ ช่วยกันประคองบอล โดยไม่ให้บอลตกพื้น หรือจะทำอย่างไรให้ช่วยกันพาลูกบอลเข้าไปให้ถึงจุดที่กำหนดไว้ นั้นก็คือการนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ในการเรียนการสอนทางด้านสาขาวิชาพลศึกษา

แบ่งกลุ่มนักเรียนตามที่ได้วิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ไว้แล้ว บอกกับนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องประวัติและคุณค่ากีฬาวอลเลย์บอลและให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับหนังสือเรียนวอลเลย์บอลและกระดาษเพื่อนำเสนองาน นักเรียนร่วมกันศึกษาจากหนังสือที่ครูแจกให้และปฏิบัติกิจกรรมตามกลุ่มที่ครูได้แบ่งไว้มีดังนี้

กลุ่มอิสระ ให้นักเรียนร่วมวิเคราะห์คุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลแล้วสรุปลงในกระดาษ A4 และส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้น

กลุ่มร่วมมือ ให้นักเรียนเขียน Mind Map เกี่ยวกับคุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลระบายสีให้สวยงามและนำมาส่ง

กลุ่มมีส่วนร่วม สรุปประวัติกีฬาวอลเลย์บอลและออกมารายงานหน้าชั้น
ครูให้นักเรียนยกตัวอย่าง คุณค่าของกีฬาวอลเลย์บอลที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของคนเราว่าเป็นอย่างไร และกิจกรรมนี้ก็เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

เอกสารอ้างอิง• http://supanidaopal.blogspot.com/2006/05/elearning_114845139039255746.html
http://th.wikipedia.org/
http://www.pochanukul.com/?p=157
• www.slideshare.net/worawan.wat/coop
• http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา F73

1. นายฐิติ วีรศิริมงคลกุล           รหัสนิสิต 51271757
2. นายวาทิตย์ ถวิลเชื้อ              รหัสนิสิต 51270049
3. นายเอนก สมภูมิ                    รหัสนิสิต 51270643
4. นายวุฒิพันธ์ เตวิยะ               รหัสนิสิต 51270759
5. นายกิตตินันท์ เกตุทับทิม       รหัสนิสิต 51270650
6. นางสาวพิจิตรา ทองสน         รหัสนิสิต 51271815

สิ่งที่ต้องทำส่ง

งานกลุ่ม
1.รายงานทฤษฎีการเรียนรู้
2.รายงานการสร้างหน่วยการเรียนรู้และหน่วยการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
3.รายงานรูปแบบการสอน
4.รายงานวิธีสอน
5.รายงานเทคนิคการสอน

งานรายบุคคล
1.แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบครบทุกส่วน
2.การประเมินผลการสอนจากเพื่อนทุกคน







ทดลอง

ก่ก่พ่พำเวกสดเนหยเพเนะ
พนาเนพำย่ำนย่ำยนเนยเง่บำนยเนงเพะนเย่ะยพ่นพะง้พนาพ้าพน้วง้าน
เพะน้นเรีพดเพะทงำพงำพฟดสเพนาหะนเนะร้ะร่ะร่เงห้ะนฟง
พะนะพหพห้ง